13.11.55
Carpal Tunnel Syndrome (CTS) โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ!!
Carpal Tunnel Syndrome (CTS)
โรคที่ควรระวังสำหรับคนเล่นคอมพิวเตอร์ประจำ!!
ก่อนนอนคืนนี้มาบอกข้อมูลสาระดีๆฝากถึงท่านที่ชอบเล่นคอม หรือจำเป็นต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์จนดึกดื่น มาบอกเล่าสู่กันฟังค่ะ
คนที่เล่นคอมพิวเตอร์เป็นประจำมักจะเกิดโรค CTS หรือ โรค Carpal Tunnel Syndrome ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเกิดจากการที่เพิ่มหนาขึ้นของพังผืดบริเวณช่องเส้นเอ็นตรงข้อมือ
(ปกติตรงข้อมือของคนเราจะมีเส้นเอ็นข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ
รวมถึงเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน) เนื่องจากการใช้เมาส์โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน
หรือการกดคีย์บอร์ด
โรค CTS หรือ โรค Carpal
Tunnel Syndrome เกิดจากการที่เส้นประสาทที่วิ่งผ่านท่อนแขนจากข้อศอกไปยังข้อมือได้รับแรงกดซ้ำ
ๆ หรือ
เกิดจากการเพิ่มหนาขึ้นของพังผืดที่บริเวณอุโมงค์ข้อมือกดทับเส้นประสาทมีเดียน (Median
Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขนและมือ
และเป็นเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง
และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ
ลักษณะผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค
1.ผู้ที่ใช้ข้อมือทำงานในท่าเดิมๆ
2.ผู้ที่ต้องใช้มือหรือข้อมือมากๆในชีวิตประจำวัน
3.ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีผลต่อปลายประสาท เช่น โรคเบาหวาน
โรคข้ออักเสบ
4.หญิงตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด
5.ผู้ที่ใช้มือและข้อมือติดต่อกันเป็นเวลานานๆ แม้จะเป็นงานเบาๆ
6.ผู้ที่ใช้ข้อมือกระดกขึ้นลงบ่อยๆ
หรือทำงานที่มีการสั่นสะเทือนของมือและแขนอยู่เป็นเวลานาน
อาการของโรค CTS
1.ชาหรือปวดบริเวณมือ ในบางรายอาจมีอาการได้ทั้งฝ่ามือ
มักมีอาการชัดในมือข้างที่ถนัด บางรายอาจเป็นทั้ง 2 ข้าง ส่วนมากมักเป็นเวลากลางคืน
หลังจากนอนหลับบางครั้งอาจตื่นขึ้นมาจากอาการปวด
แต่เมื่อสะบัดมือแล้วอาการจะดีขึ้นชั่วคราว
2.ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้น จะทำให้อาการอ่อนแรงของมือ
หยิบจับของลำบาก หรือถือของหล่นบ่อยๆ และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบลง
3.จะพบได้บ่อยสำหรับเพศหญิง มากว่าเพศชาย
4.อายุที่พบบ่อย ประมาณ 35-40 ปี
5.มักพบในผู้ที่มีข้อมือค่อนข้างกลม
การรักษา
1.หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจำวัน
โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ในการทำกิจกรรม
เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ
2.การทำกายภาพบำบัด การบริหารมือ
ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก
3.การใส่เครื่องช่วยพยุงมือในเวลากลางคืน
จะช่วยจัดท่าของข้อมือให้อยู่ในท่าที่ดีที่สุดเวลานอน
เพื่อช่วยลดอาการปวดและเป็นการเตือนผู้ป่วยไม่ให้กระดกข้อมือมากเกินไป
4.แบบให้ยา
ถ้าเพิ่งเริ่มเป็นอาจจะกินยาแก้ปวดแล้วก็พักข้อมือหยุดการเคลื่อนไหวอาการก็อาจทุเลาและหายไปได้เองโดยตรง
5.การผ่าตัด พิจารณาในผู้ที่มีอาการค่อนข้างมากได้ผลดี
หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลยและหลังจากที่แผลหายดีแล้ว
ควรจะมีการฝึกการบริหารมือและข้อมือ เพื่อให้เส้นเอ็น และเส้นประสาทของมือเคลื่อนไหวได้สะดวก
ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการทำกายภาพบำบัด เช่น การนวดหรือลูบเบาๆ
บริเวณแผล การใช้ความร้อน ความเย็น
".....อ่านมาถึงตรงนี้ ใครที่กำลังประสบปัญหาแบบนี้ หรือ มีความจำเป็นต้องใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆ ก็ควรระวังไว้ก่อนค่ะ อย่างเราก็อาศัยแผ่นรองเมาส์ช่วย บางทีก็ใช้วิธีพันผ้ารอบข้อมือ ในกรณีที่ต้องทำงานนานๆ ฝากเตือนใจผู้อ่านทุกท่านดูแลสุขภาพด้วยค่ะ..."
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
โรงพยาบาลลาดพร้าว แพทย์เฉพาะทางเวศศาสตร์ฟื้นฟู
จับฉ่ายดอทคอม
www.tistr.or.th/
Cover Song hit
Like This!
Popular Topics
-
ไอเดีย D.i.y จานรองแก้วน่ารักๆ ไอเดีย DIY จานรองแก้วน่ารักๆ ซึ่งทำจาก Cork coasters แล้วใช้ปากกาเมจิกสีเมทัลลิก หรือสีเงิน วาดลวดลายน...
Blog Archive
-
►
2013
(1)
- ► กุมภาพันธ์ (1)